ศึกษาสืบค้นข้อมูล สำรวจตรวจสอบ ศึกษา วิเคราะห์ อภิปราย และอธิบายเกี่ยวกับความหมายของอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี การเกิดปฏิกิริยาเคมีโดยใช้ทฤษฎีจลน์และการชนกันของอนุภาค และการเกิดสารเชิงซ้อน กัมมันต์ พลังงานกับการดำเนินไปของปฏิกิริยาเคมี ปัจจัยที่มีผลต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี การเปลี่ยนแปลงที่ผันกลับได้และสมดุลในปฏิกิริยาเคมี ค่าคงที่สมดุลกับสมการเคมี การคำนวณเกี่ยวกับค่าคงที่สมดุล ปัจจัยที่มีผลต่อภาวะสมดุล หลักของเลอชาเตอลิเอ สมดุลเคมีในสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมสารละลายอิเล็กโทรไลต์ รวมทั้งฝึกปฏิบัติการต่างๆ เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ และทักษะต่างๆ โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ การสืบเสาะหาความรู้ การสำรวจตรวจสอบ การสืบค้นข้อมูลและการอภิปราย ตลอดจนพัฒนากระบวนการคิด ความสามารถในการแก้ปัญหา รวมถึงทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ และคุณลักษณะของนักวิทยาศาสตร์ เพื่อให้ตระหนักถึงความสัมพันธ์ระหว่างวิชาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี มวลมนุษย์ และสภาพแวดล้อม เป็นผู้ที่มีจิตวิทยาศาสตร์ มีความซื่อสัตย์ การทำงานร่วมกัน พัฒนาจิตสาธารณะคำนึงถึงส่วนรวม และค่านิยมในการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างสร้างสรรค์


เนื้อหาการเรียนนี้เกี่ยวข้องกับระบบหมุนเวียนเลือดของร่างกายในสัตว์และมนุษย์ โดยจะเริ่มตั้งแต่การมีระบบหมุนเวียนเลือดไปจนถึงการทำงานของระบบหมุนเวียนเลือด และเพื่อให้นักเรียนเข้าใจจุดประสงค์การเรียนและนำไปต่อยอดในเตรียมความพร้อมการสอบเข้าระดับมหาวิทยาลัยต่อไป

     ศึกษาหลักการพื้นฐานเกี่ยวกับ ธรรมชาติของคลื่น ธรรมชาติของเสียง  อัตราเร็วของเสียง  การเคลื่อนที่ของคลื่นเสียง  ความเข้มเสียงและการได้ยิน เสียงดนตรี  บีตส์และคลื่นนิ่งของเสียง  ปรากฏการณ์ดอปเพลอร์และคลื่นกระแทก  การประยุกต์ความรู้เรื่องเสียง  การแทรกสอดและการเลี้ยงเบนของแสง  การกระเจิงของแสง  การเคลื่อนที่และอัตราเร็วของแสง  การหักเหของแสง  เลนส์บาง  ปรากฎการณ์ที่เกี่ยวกับแสง  ทัศนูปกรณ์  ความสว่างและการถนอมสายตา  ศึกษาคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า แสงไม่โพลาไรส์ แสงโพลาไรส์เชิงเส้น และแผ่นโพลารอยด์ รวมทั้งอธิบายการนำคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในช่วงความถี่ต่าง ๆ ไปประยุกต์ใช้และหลักการทำงานของอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง  การสื่อสารโดยอาศัยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในการส่งผ่านสารสนเทศ และเปรียบเทียบการสื่อสารด้วยสัญญาณ แอนะล็อกกับสัญญาณดิจิทัล รวมทั้งฝึกปฏิบัติการต่างๆ          

       เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ และทักษะต่างๆ โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์  การสืบเสาะหาความรู้  การสำรวจตรวจสอบ การสืบค้นข้อมูลและการอภิปราย  ตลอดจนพัฒนากระบวนการคิด ความสามารถในการแก้ปัญหา รวมถึงทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ และคุณลักษณะของนักวิทยาศาสตร์                                  

      เพื่อให้ตระหนักถึงความสัมพันธ์ระหว่างวิชาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี มวลมนุษย์ และสภาพแวดล้อม เป็นผู้ที่มีจิตวิทยาศาสตร์ มีความซื่อสัตย์ การทำงานร่วมกัน พัฒนาจิตสาธารณะคำนึงถึงส่วนรวม และค่านิยมในการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างสร้างสรรค์    


ศึกษาหลักการพื้นฐานของความหนาแน่นของของไหล ความดันในของไหลและกฎพาสคัล แรงพยุงและหลักอาร์คิมีดีส ความตึงผิว การเคลื่อนที่ในของไหล สมบัติของของไหลอุดมคติ สมการความต่อเนื่อง และสมการแบร์นูลลี ความร้อน  อุณหภูมิ ความจุความร้อน การขยายตัวของวัตถุเนื่องจากความร้อน สถานะและการเปลี่ยนแปลงสถานะของสาร การถ่ายโอนความร้อน แก๊สอุดมคติ กฎของบอยล์ กฎของชาร์ล กฎของเกย์ขลูสแซก กฎของแก๊สอุดมคติ ทฤษฎีจลน์ของแก๊ส ความดันและพลังงานจลน์เฉลี่ยของโมเลกุลของแก๊ส   อัตราเร็วของโมเลกุลของแก๊ส  พลังงานภายในระบบ  กฎข้อที่หนึ่งของอุณหพล-ศาสตร์ การประยุกต์เกี่ยวกับอุณหพลศาสตร์  ศึกษาการเกิดคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า  สเปกตรัมของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า  โพลาไรซ์-เซชันของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า   การสื่อสารโดยอาศัยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า

โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์  กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ การสืบค้นข้อมูล   การสังเกต  การวิเคราะห์  การอภิปราย  การอธิบายและการสรุปผล   เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความรู้     ความคิด ความเข้าใจมีความสามารถในการตัดสินใจ   มีทักษะปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ รวมทั้งทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ในด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านการคิดและการแก้ปัญหา ด้านการสื่อสาร สามารถสื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำไปใช้ในชีวิตประจำวันของตนเอง ตลอดจนมีจิตวิทยาศาสตร์ จริยธรรม คุณธรรมและค่านิยมที่เหมาะสม


ศึกษาความหมายของสารประกอบอินทรีย์และเคมีอินทรีย์ การเขียนสูตรโครงสร้างแบบลิวอิส แบบ ย่อ แบบผสม แบบใช้เส้นและมุม ศึกษาทดลองการเกิดไอโซเมอร์ของสารประกอบอินทรีย์ ศึกษาและทดลอง เกี่ยวกับหมู่อะตอมที่แสดงสมบัติเฉพาะหรือหมู่ฟังก์ชั่นในโมเลกุลของสาร ศึกษา    หมู่ฟังก์ชัน การจําแนก ประเภทของสารประกอบอินทรีย์ ศึกษาโครงสร้าง การเขียนสูตร การเรียกชื่อ แนวโน้มของจุดหลอมเหลวและ จุดเดือด    การละลายในนํ ้า ปฏิกิริยาบางชนิด การนําไปใช้ประโยชน์ และอันตรายของสารประกอบอินทรีย์ ประเภทแอลเคน แอลคีน แอลไคน์ แอลกอฮอล์      ฟีนอล อีเทอร์ แอลดีไฮด์ คีโตน กรดคาร์บอกซิลิก เอสเทอร์ เอมีนและเอไมด์ ศึกษาและทดลองสมบัติบางประการของสารประกอบไฮโดรคาร์บอน การเตรียมเอสเทอร์จาก ปฏิกิริยาที่เรียกว่าเอสเทอริฟิ เคชันและปฏิกิริยาไฮโดรลิซิสของเอสเทอร์