ผลการค้นหา: 497
ศึกษาวิธีการประเมินความน่าเชื่อถือของหลักฐานทางประวัติศาสตร์ในลักษณะต่าง ๆ ตัวอย่างการประเมินความน่าเชื่อถือของหลักฐานทางประวัติศาสตร์ไทยที่อยู่ในท้องถิ่นของตนเองหรือหลักฐานสมัยอยุธยา วิธีการแยกแยะระหว่างข้อมูลกับความคิดเห็น ความจริงกับข้อเท็จจริงจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ รวมถึงการสถาปนาอาณาจักรอยุธยา ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเจริญรุ่งเรืองของอาณาจักรอยุธยา พัฒนาการของอาณาจักรอยุธยาในด้านการเมืองการปกครอง สังคม เศรษฐกิจ และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศสมัยอยุธยา การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 1 การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 การกู้เอกราช และการสถาปนาอาณาจักรธนบุรี
โดยใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ผ่านการตั้งคำถามหรือหัวเรื่องศึกษา
ตั้งสมมติฐาน เลือกใช้เทคโนโลยี
ในการสืบค้นและรวบรวมข้อมูลหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับหัวเรื่องศึกษาอย่างหลากหลาย
แล้วนำข้อมูลหลักฐานมาศึกษาผ่านการอ่าน เขียน จำแนกประเภทหลักฐาน สังเกต
เปรียบเทียบ วิเคราะห์ วิพากษ์ ตรวจสอบ ประเมินความน่าเชื่อถือ โต้แย้ง ตีความ
สังเคราะห์ และสรุปข้อมูลหลักฐานเพื่อนำไปสู่ การสร้างองค์ความรู้ทางประวัติศาสตร์พร้อมถ่ายทอดหรือนำเสนอองค์ความรู้ทางประวัติศาสตร์ในรูปแบบ
รายงานสรุปผลการศึกษาค้นคว้าบนฐานการอ้างอิงข้อมูลหลักฐานอย่างมีเหตุผล เพื่อให้เห็นความสำคัญของการวิเคราะห์ข้อมูลและการตีความทางประวัติศาสตร์
ความสำคัญของ การศึกษาพัฒนาการทางการเมืองการปกครอง สังคม เศรษฐกิจ
และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ มีคุณลักษณะใฝ่ศึกษาค้นหาความรู้ทางประวัติศาสตร์
และกล้าแสดง ความคิดเห็นอย่างมีเหตุผล
มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด
มฐ.
ส
4.1
ม. 2/1,
ม. 2/2, ม. 2/3
มฐ.
ส
4.3
ม. 2/1,
ม. 2/2, ม. 2/3
รวมทั้งหมด 6 ตัวชี้วัด

- อาจารย์: ปนิตา นุ่มดี
ศึกษาหลักการพื้นฐานของความหนาแน่นของของไหล ความดันในของไหลและกฎพาสคัล แรงพยุงและหลักอาร์คิมีดีส ความตึงผิว การเคลื่อนที่ในของไหล สมบัติของของไหลอุดมคติ สมการความต่อเนื่อง และสมการแบร์นูลลี ความร้อน อุณหภูมิ ความจุความร้อน การขยายตัวของวัตถุเนื่องจากความร้อน สถานะและการเปลี่ยนแปลงสถานะของสาร การถ่ายโอนความร้อน แก๊สอุดมคติ กฎของบอยล์ กฎของชาร์ล กฎของเกย์ขลูสแซก กฎของแก๊สอุดมคติ ทฤษฎีจลน์ของแก๊ส ความดันและพลังงานจลน์เฉลี่ยของโมเลกุลของแก๊ส อัตราเร็วของโมเลกุลของแก๊ส พลังงานภายในระบบ กฎข้อที่หนึ่งของอุณหพล-ศาสตร์ การประยุกต์เกี่ยวกับอุณหพลศาสตร์ ศึกษาการเกิดคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า สเปกตรัมของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า โพลาไรซ์-เซชันของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า การสื่อสารโดยอาศัยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ การสืบค้นข้อมูล การสังเกต การวิเคราะห์ การอภิปราย การอธิบายและการสรุปผล เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความรู้ ความคิด ความเข้าใจมีความสามารถในการตัดสินใจ มีทักษะปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ รวมทั้งทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ในด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านการคิดและการแก้ปัญหา ด้านการสื่อสาร สามารถสื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำไปใช้ในชีวิตประจำวันของตนเอง ตลอดจนมีจิตวิทยาศาสตร์ จริยธรรม คุณธรรมและค่านิยมที่เหมาะสม

- อาจารย์: Sasiwimon Sanitboon
เขียนการสะกดคำให้ถูกต้องตรงตามความหมาย การใช้คำทับศัพท์ รูปแบบการสะกดคำต่าง ๆ เช่น การสะกดคำที่ขึ้นต้นด้วย “กระ กะ” การสะกดคำที่ขึ้นต้นด้วย “บัน บรร” การสะกดคำที่เกิดจากการใช้แนวเทียบไม่ถูกต้อง การสะกดคำและการใช้ “ น ณ” การสะกดคำและการใช้ “ฎ ฏ”
การสร้างคำในภาษาไทย เช่น คำสมาสแบบสมาส คำสมาสแบบมีสนธิ
การอ่านในสื่ออิเล็กทรอนิกส์ การอ่านรูปแบบต่าง ๆ
วรรณคดีไทย ศึกษาความงามการใช้ภาษา วิจักษณ์ วิจารณ์วรรณคดี
ศึกษางานประพันธ์ เช่น หัวใจชายหนุ่ม คำนมัสการคุณานุคุณ มหาเวสสันดรชาดก เป็นต้น
โดยใช้กระบวนการอธิบาย การกระบวนการอภิปราย กระบวนการรายบุคคล กระบวนการรายกลุ่ม กระบวนการเรียนรู้แบบร่วมมือ ทักษะปฏิบัติ การคิดวิจารณญาณ การคิดสร้างสรรค์ การประเมินค่าเพื่อให้เกิดความคิด ความเข้าใจ สามารถพัฒนาภาษาเพื่อการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ รักภาษาไทย ตระหนักถึงคุณค่าของความรู้ทางภาษาไทยแล้วนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวัน มีจิตสาธารณะ มีคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมที่่เหมาะสม
- อาจารย์: Warittha Pongsupat
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ รายวิชาพื้นฐาน
รหัสวิชา อ ๒๒๑๐๑ ภาษาอังกฤษพื้นฐาน ๓ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ ภาคเรียนที่ ๑
เวลาเรียน ๖๐ คาบ (๓ คาบต่อสัปดาห์) จำนวน ๑.๕ หน่วยกิต
เข้าใจ ภาษาท่าทาง คำสั่ง คำขอร้อง คำแนะนำ คำชี้แจงและคำอธิบายง่าย ๆ อ่านออกเสียงข้อความข่าวประกาศและบทร้อยกรองสั้น ๆ ถูกต้องตามหลักการอ่าน ระบุ/เขียนประโยค หรือข้อความให้สัมพันธ์กับสื่อที่ไม่ใช่ความเรียงรูปแบบต่าง ๆ ที่อ่าน โดยสามารถยกตัวอย่างและให้เหตุผลประกอบ สนทนาแลกเปลี่ยนข้อมูล เกี่ยวกับตัวเอง เรื่องราวและสถานการณ์ต่างๆในชีวิตประจำวัน พูดและเขียนแสดงความต้องการ เสนอและให้ความช่วยเหลือ ตอบรับและปฏิเสธ ในสถานการณ์ต่าง ๆ พูดและเขียนเพื่อขอและให้ข้อมูล เกี่ยวกับเรื่องที่ฟังหรืออ่าน เขียนแสดงความรู้สึกขอความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องราวที่อ่านพร้อมให้เหตุผลอย่างเหมาะสม พูดและเขียนสรุปใจความสำคัญแก่นสาระที่ได้จากการวิเคราะห์ ข่าวเหตุการณ์ที่น่าสนใจ ประสบการณ์ส่วนตัว และให้เหตุผลประกอบอย่างเหมาะสม ใช้ภาษาและน้ำเสียง รวมถึงกริยาท่าทางให้เหมาะกับ บุคคลและโอกาสตามมารยาทของสังคมและวัฒนธรรมของเจ้าของภาษา เขียนบรรยาย เกี่ยวกับเทศกาลความเป็นอยู่ และประเพณีของเจ้าของภาษา เข้าร่วมและจัดกิจกรรมทางภาษาและวัฒนธรรมตามความสนใจ เปรียบเทียบ อธิบาย และสรุปความหมายและความแตกต่างระหว่างการออกเสียงประโยคชนิดต่าง ๆ และลำดับคำตามโครงสร้างประโยค ค้นคว้ารวบรวม สรุป เชื่อมโยงข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น โดยการนำเสนอ การพูด การเขียน การใช้ภาษาในสถานการณ์จริงและสถานการณ์จำลอง ใช้ภาษาเพื่อการค้นคว้าสืบค้น และนำเสนอผลงานของตนเองอย่างมีประสิทธิภาพ
รหัสตัวชี้วัด
ต ๑.๑ ม.๒/๑ ม.๒/๒ ม.๒/๓ ม.๒/๔
ต ๑.๒ ม.๒/๑ ม.๒/๒ ม.๒/๓ ม.๒/๔ ม.๒/๕
ต ๑.๓ ม.๒/๑ ม.๒/๒ ม.๒/๓
ต ๒.๑ ม.๒/๑ ม.๒/๒ ม.๒/๓
ต ๒.๒ ม.๒/๑ ม.๒/๒
ต ๓.๑ ม.๒/๑
ต ๔.๑ ม.๒/๑
ต ๔.๒ ม.๒/๑ ม.๒/๒
รวมทั้งหมด ๒๑ ตัวชี้วัด

- อาจารย์: Duangthida Tarapun
ศึกษาเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ที่แสดงลักษณะทางกายภาพ พิกัดภูมิศาสตร์ (ละติจูดและลองจิจูด) ทวีปเอเชีย ออสเตรเลียและโอเชียเนีย เส้นแบ่งเวลาความแตกต่างของเวลา มาตรฐานกับเวลาท้องถิ่นภัยธรรมชาติ การเปลี่ยนแปลงประชากร เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม ปัจจัยทางกายภาพและสังคมที่มีผลต่อการเลื่อนไหลของความคิด เทคโนโลยี สินค้า และประชากร แนวทางการใช้และอนุรักษ์ทรัพยากร รวมทั้งความร่วมมือและการพึ่งพาซึ่งกันและกันระหว่างประเทศในทวีปเอเชียออสเตรเลียและโอเชียเนีย
โดยใช้กระบวนการคิด กระบวนการแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ การใช้เทคโนโลยีในการสืบค้น จัดทำข้อมูลสารสนเทศและใช้วิธีการสื่อสาร โดยรายงานข่าวหรือเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้อง
เพื่อวิเคราะห์สาเหตุการเกิดภัยพิบัติของทวีปเอเชีย ออสเตรเลียและโอเชียเนีย ตลอดจนแนวทางการจัดการภัยพิบัติและทรัพยากรสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนและให้เกิดความรู้ความเข้าใจ เกิดจิตสำนึกรู้คุณค่าของทรัพยากร วางแผนอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ป้องกันและระวังภัยธรรมชาติ และสามารถเปรียบเทียบ วัน เวลา ของประเทศไทยกับทวีปต่างๆ

- อาจารย์: ชสิภา สาแก้ว
ศึกษาความหมายของสารประกอบอินทรีย์และเคมีอินทรีย์ การเขียนสูตรโครงสร้างแบบลิวอิส แบบ ย่อ แบบผสม แบบใช้เส้นและมุม ศึกษาทดลองการเกิดไอโซเมอร์ของสารประกอบอินทรีย์ ศึกษาและทดลอง เกี่ยวกับหมู่อะตอมที่แสดงสมบัติเฉพาะหรือหมู่ฟังก์ชั่นในโมเลกุลของสาร ศึกษา หมู่ฟังก์ชัน การจําแนก ประเภทของสารประกอบอินทรีย์ ศึกษาโครงสร้าง การเขียนสูตร การเรียกชื่อ แนวโน้มของจุดหลอมเหลวและ จุดเดือด การละลายในนํ ้า ปฏิกิริยาบางชนิด การนําไปใช้ประโยชน์ และอันตรายของสารประกอบอินทรีย์ ประเภทแอลเคน แอลคีน แอลไคน์ แอลกอฮอล์ ฟีนอล อีเทอร์ แอลดีไฮด์ คีโตน กรดคาร์บอกซิลิก เอสเทอร์ เอมีนและเอไมด์ ศึกษาและทดลองสมบัติบางประการของสารประกอบไฮโดรคาร์บอน การเตรียมเอสเทอร์จาก ปฏิกิริยาที่เรียกว่าเอสเทอริฟิ เคชันและปฏิกิริยาไฮโดรลิซิสของเอสเทอร์

- อาจารย์: น้อยหน่า ศรีทัศน์